เมนู

เสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่1 5


ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการไม่ควรเสพ


[188] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ ไม่ควรเสพ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ฆ่า
สัตว์ 1 ลักทรัพย์ 1 พูดผิดในกาม 1 พูดเท็จ 1 พูดส่อเสียด 1
พูดคำหยาบ 1 พูดเพ้อเจ้อ 1 มีความอยากได้ของผู้อื่น 1 มีจิตปองร้าย.
มีความเห็นผิด 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการนี้แล ไม่ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลา บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม 10 ประการ ควรเสพ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ บุคคล
เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 1 จากการลักทรัพย์. จากการประพฤติผิด
ในกาม 1 จากการพูดเท็จ 1 จากการพูดส่อเสียด 1 จากการพูดคำ
หยาบ 1 จากการพูดเพ้อเจ้อ 1 ไม่อยากได้ของผู้อื่น 1 มีจิตไม่คิดปอง
ร้าย 1 มีความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม 10 ประการนี้แล ควรเสพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ไม่
ควรคบ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
ควรคบ. ..
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ไม่
ควรเข้าไปนั่งใกล้.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
10 ประการ ควรเข้าไปนั่งใกล้...

1. วรรคที่ 5 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็น
ผู้ไม่ควรบูชา.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ควรบูชา...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็น
ผู้ไม่ควรสรรเสริญ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
10 ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็น
ผู้ไม่ควรเคารพ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ควรเคารพ. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
ผู้ไม่ควรยำกรง... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็น
ผู้ไม่ควรให้ยินดี... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อม
ไม่บริสุทธิ์ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อม
ครอบงำมานะไม่ได้... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
10 ประการ ย่อมครอบงำมานะได้...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อม

ไม่เจริญด้วยปัญญา... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
10 ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อม
ประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ บุคคล
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ 1 ลักทรัพย์ 1 ประพฤติผิดในกาม 1 พูดเท็จ 1 พูด
ส่อเสียด 1 พูดคำหยาบ 1 พูดเพ้อเจ้อ 1 มีความอยากได้ของผู้อื่น 1
มีจิตคิดปองร้าย 1 มีความเห็นผิด 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อม
ประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้งด
เว้นจากการฆ่าสัตว์ 1 จากการลักทรัพย์ 1 จากการประพฤติผิดในกาม 1
จากการพูดเท็จ 1 จากการพูดส่อเสียด 1 จากการพูดคำหยาบ 1 จาก
การพูดเพ้อเจ้อ 1 ไม่อยากได้ของผู้อื่น 1 มีจิตไม่คิดปองร้าย 1 มีความ
เห็นชอบ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
นี้แล ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก.
จบเสวิตัพพาเสวิตตัพพวรรคที่ 5
จบจตุตถปัณณาสก์

ปัญจมปัณณาสก์


ปฐมวรรคที่1 1


1. ยถาภตสูตร


ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ


เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรกหรือได้รับเชิญมาไว้ในสวรรค์
[189] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้
ธรรม 10 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการ
ทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ที่มีชีวิตทั้งปวง 1 เป็นคนลักทรัพย์ ถือเอา
วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ใน
บ้านหรือในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยจิตเป็นขโมย 1 เป็นผู้ประพฤติผิด
ในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา
พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มี
สามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวง
มาลัย 1 เป็นผู้พูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ
ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซัก
ถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลผู้นั้น
เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น
หรือเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง

1. วรรคนี้ บาลีมี 9 สูตร ๆ ละข้อ แต่อรรถกถามี 10 สูตร.